ทองปกรณ์ ทองโบราณ เครื่องประดับมือสองของมีค่า
โดยปกติจะตอบกลับภายในไม่กี่ชั่วโมง
สวัสดีค่ะ สนใจสอบถามสินค้าชิ้นไหนสอบถามได้นะคะ
เริ่มแชท

คนไทยโบราณเขาเรียกทองคำแต่ละชนิดอย่างไร มาหาคำตอบในนี้เลย

4498 จำนวนผู้เข้าชม  | 

คนไทยโบราณเขาเรียกทองคำแต่ละชนิดอย่างไร มาหาคำตอบในนี้เลย

คุณสมบัติและลักษณะของทองคำ

       “...มีเงินเขานับว่าน้อง มีทองเขานับว่าพี่…”  หลายๆท่านคงเคยได้ยินผ่านหูกันมาบ้างกับเพลงพื้นบ้านนี้ เพราะในสมัยโบราณถ้าหากว่าใครมีทองหรือว่าทรัพย์สินมากก็จะเป็นที่เคารพนับถือแก่คนทั่วไป ซึ่งในสมัยนั้นทองคำถือเป็นสิ่งที่มีค่าสูง และเป็นที่นิยมยอมรับกันเป็นสามัญสามารถใช้กำหนดแทนสิ่งของได้ทุกอย่าง รวมทั้งเป็นของรางวัลตอบแทนแม่ทัพ หรือเครื่องอลังการต่างๆด้วย 
            คุณสมบัติและลักษณะของทองคำ ในสมัยโบราณกำหนดคุณภาพของทองคำเป็นเนื้อ โดยตั้งราคาตามเนื้อทอง(ตามประกาศของรัชกาลที่ ๔) เช่นทองเนื้อหก คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๖ บาท  และทองเนื้อเก้า คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๙ บาท เป็นต้น นอกจากนี้ทองยังมีหลายชนิดและหลายรูปลักษณ์ ซึ่งมีการแปรรูปออกไปให้เหมาะกับการใช้งานโดยวิธีการถลุงและผสมกับแร่ธาตุต่าง ๆ ดังที่จะกล่าวต่อไปนี้


        1. ทองนพคุณ คือ ทองคำแท้ ทองคำบริสุทธิ์ หรือทองเนื้อเก้า
        2. ทองดอกบวบ หรือทองสีดอกบวบ คือทองเนื้อหก มีสีเหลืองอ่อนคล้ายดอกบวบ คนโบราณจึงเรียกกันเช่นนั้น
        3. ทองแล่ง คือทองคำที่เอามาแล่งให้เป็นเส้นบาง ๆ ใช้สำหรับปักหรือทอผ้าเครื่องนุ่งห่ม ซึ่งจะใช้ในพิธีกรรมสำคัญ


        4. ทองแป หรือทองคำแป เป็นชื่อเรียกเหรียญทองตราโบราณชนิดหนึ่ง ซึ่งในสมัยอยุธยาไม่ค่อยนิยมนำทองคำมาทำเป็นเงินตรา มีบ้างก็น้อย ส่วนใหญ่จะนำไปทำเครื่องประดับเสียส่วนใหญ่
        5. ทองใบหรือทองใบใหญ่ คือทองคำที่ตีเป็นแผ่นบางๆ รูปสี่เหลี่ยมสามารถพับม้วนเก็บเป็นหลอดกลมยาวได้ 


        6. ทองเค เป็นของสมัยใหม่ เป็นการเรียกเกณฑ์สำหรับวัดความบริสุทธิ์เป็นกะรัตว่าทองเค หรือทอง ๒๔ กะรัต
        7. ทองคำเปลว เป็นทองคำที่ตีแผ่ให้เป็นแผ่นบางที่สุดเท่าที่จะทำได้โดยเนื้อทองไม่แยกจากกันนิยมใช้สำหรับปิดบนวัตถุสิ่งของที่ลงรัก
        8. ทองรูปพรรณ หรือทองหยอง คือทองคำที่นำมาประดิษฐ์สำเร็จรูปหรือเครื่องประดับตกแต่ง
        9. ทองทราย จะมีลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ อย่างทรายปนอยู่กับทรายหรือดิน บางครั้งก็พบเป็นแผ่นเล็กๆปนอยู่กับเนื้อทราย

 

ที่มาจากหนังสือเครื่องทองกรุงศรีอยุธยา

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้