ทองปกรณ์ ทองโบราณ เครื่องประดับมือสองของมีค่า
โดยปกติจะตอบกลับภายในไม่กี่ชั่วโมง
สวัสดีค่ะ สนใจสอบถามสินค้าชิ้นไหนสอบถามได้นะคะ
เริ่มแชท

ช้างทองคำหรือพระคชาธารทองคำประดับอัญมณี ศิลปะอยุธยาตอนต้น

2151 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ช้างทองคำหรือพระคชาธารทองคำประดับอัญมณี  ศิลปะอยุธยาตอนต้น

พระคชาธารทองคำประดับอัญมณี

         ในบทความนี้ ผู้เขียนจะขอเล่าถึงช้าง ที่ถือว่าเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองของประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย พบจากศิลาจารึกที่กล่าวว่า "...ช้างเผือกตัวโปรดของพระเจ้ารามคำแหงมหาราชที่ชื่อรุจาครี ซึ่งช้างเผือกตัวนี้ทรงให้แต่งด้วยเครื่องคชาภรณ์ แล้วทรงนำราษฎรออกบำเพ็ญกุศลตามพระอารามในอรัญญิกเมื่อครั้งที่ทรงครองกรุงสุโขทัย..." 
        จากข้อความข้างต้น จะพบว่าช้างมีความสัมพันธ์กับสังคมไทยมายาวนาน โดยเฉพาะในราชสำนักไทยี่ได้ให้ความส าคัญกับช้างอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช้างเผือก ซึ่งเป็นช้างสำคัญหายาก ประเทศในแถบเอเชียอาคเนย์ได้รับคติความเชื่อเกี่ยวกับช้างเผือกมาจากอินเดียตั้งแต่สมัยโบราณ ในสมัยโบราณจะมีการคล้องช้างป่าที่มีลักษณะดีตามตำราคชลักษณ์และนำมาถวายแก่พระมหากษัตริย์เพื่อเป็นช้างเผือกคู่พระบารมี และความสงบร่มเย็นของบ้านเมือง เมื่อมีช้างสำคัญเข้ามาสู่ราชสำนัก พระมหากษัตริย์จะโปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางช้างเผือกหรือช้างต้น พร้อมพระราชทานนามและยศเป็นพระยาช้างต้นหรือนางพระยาช้างต้นประจำรัชกาล ช้างเผือกที่เข้าพระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางแล้ว จะได้รับพระราชทานเครื่องยศที่เรียกว่า เครื่องคชาภรณ์ เพื่อเป็นเครื่องประดับตกแต่งพร้อมกับพระราชทานเครื่องยศที่เป็นเครื่องอุปโภคสำหรับช้างต้น อันเป็นธรรมเนียมปฏิบัติในราชสำนักที่สืบทอดต่อกันมา
          การประดับเครื่องคชาภรณ์แก่ช้างส าคัญในดินแดนประเทศไทยและประเทศใกล้เคียง น่าจะได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมอินเดียในดินแดนสุวรรณภูมิผ่านคติความเชื่อทางศาสนา ดังปรากฏหลักฐานจากจารึกสด๊กก๊อกธม อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ พบที่จังหวัดสระแก้ว กล่าวถึงการบูชาเทพเจ้าและการถวายช้างที่ตกแต่งด้วยเสื้อเกราะและเครื่องประดับ ซึ่งเครื่องประดับดังกล่าว น่าจะหมายถึงเครื่องคชาภรณ์นอกจากนี้ภาพสลักกองทัพเขมรบนผนังปราสาทนครวัดในศิลปะเขมร อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ มีช้างประดับเครื่องทรงคชาภรณ์ด้วยเช่นกัน แสดงถึงคติการประดับเครื่องคชาภรณ์แก่
ช้างสำคัญที่ปรากฏในดินแดนใกล้เคียงด้วยเช่นกัน
         นอกจากนี้ การประดับเครื่องงคชาภรณ์สำหรับช้างสำคัญของไทย ยังปรากฏหลักฐานในงานศิลปกรรมสมัยอยุธยา เช่น พระคชาธารหรือช้างทองคำทรงเครื่องในกรุวัดราชบูรณะ สมัยอยุธยาตอนต้น ประติมากรรมปูนปั้นรูปช้างทรงเครื่องประดับอยู่รอบฐานเจดีย์วัดช้างรอบ เมืองกำแพงเพชร สมัยอยุธยาตอนต้น ภาพเขียนพระเวสสันดรพระราชทานช้างเผือกปัจจัยนาเคนทร์แก่พราหมณ์บนตู้พระไตรปิฎกสมัยอยุธยาตอนปลาย และสำหรับการสร้างและการประดับเครื่องคชาภรณ์ของช้างต้นในราชสำนักไทยสมัยรัตนโกสินทร์น่าจะมีการสร้างเครื่องคชาภรณ์แก่ช้างต้นหรือช้างสำคัญเกือบทุกรัชกาล สะท้อนให้เห็นได้จากตัวอย่างศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เช่น ภาพพระเวสสันดร พระราชทานช้างปัจจัยนาเคนทร์ทรงเครื่องคชาภรณ์ในสมุดภาพไตรภูมิสมัยรัชกาลที่ ๑ และภาพช้างทรงเครื่องคชาภรณ์ในกระบวนทัพในงานจิตรกรรมบนผนังพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม สมัยรัชกาลที่ ๓ เป็นต้น

ที่มา - สมศักดิ์ ฤทธิ์ภักดี, เครื่องคชาภรณ์พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ เครื่องประดับช้างต้นสมัยรัตนโกสินทร์ในรัชกาลที่ ๙
      - ภาชนะรูปช้าง จากพิพิธภัณฑ์ฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้